ทำความรู้จักระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน

ทำความรู้จักระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน

3 ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานฉบับเข้าใจง่าย

โรงงานอุตสาหกรรมนับเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่มีการปล่อยน้ำเสียออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางแห่งมักจะแอบปล่อยออกมาโดยไม่ผ่านการบำบัด การทำแบบนี้นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวด้วย และในท้ายที่สุด สารพิษเหล่านั้นก็จะวนกลับเข้ามาสู่ร่างกายของมนุษย์เราในทางใดทางหนึ่งอยู่ดี เพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและรณรงค์ให้โรงงานอุตสาหกรรมเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบำบัดน้ำเสีย

บทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ 3 ระบบบำบัดน้ำเสียภายในโรงงาน ที่สามารถบำบัดน้ำได้อย่างมีคุณภาพ และไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด

  1. ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ 
    ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ เป็นการบำบัดน้ำเสียขั้นต้นที่จำเป็นต้องมี ระบบนี้จะใช้แรงงานคนและเครื่องจักรในการแยกสิ่งเจือปนจำพวกเศษขยะ หรือสารแขวนลอยที่สามารถดักจับได้ออกไปจากน้ำ เช่น ทราย กรวด เศษไม้ เศษกระดาษ ไขมัน คอนกรีต น้ำโคลน น้ำแป้งมัน เป็นต้น ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้พลังงานในการดำเนินการไม่มากและมีอยู่หลากหลายวิธี แต่บทความนี้ขอแนะนำ 3 วิธีการสำคัญ ดังนี้


    1.1 การดักด้วยตะแกรง (Screen) : วิธีการนี้จะใช้ตะแกรงดักจับเศษขยะและกากต่างๆ ที่ไหลมากับน้ำเสีย เพื่อป้องกันไม่ให้เศษเหล่านั้นไหลไปติดกับเครื่องจักรที่ใช้ในขั้นตอนการบำบัดลำดับต่อไป โดยสิ่งสำคัญคือต้องเลือกใช้ตะแกรงให้เหมาะสมกับขนาดของสิ่งที่จะดัก หากมีขนาด 25 มิลลิเมตรขึ้นไป ให้ใช้ตะแกรงแบบหยาบ แต่ถ้าอยู่ระหว่าง 2 – 6 มิลลิเมตร ให้ใช้ตะแกรงแบบละเอียด

    1.2 การกำจัดตะกอนหนัก (Grit Removal): สำหรับสิ่งเจือปนที่ไม่สามารถลอยมาตามน้ำได้อย่างก้อนกรวด หิน ดิน ทราย หรือโลหะต่างๆ จะใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบตกตะกอนแทน โดยใช้ถังตกตะกอนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถังตกตะกอนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถังตกตะกอนรูปวงกลม และถังกำจัดตะกอนหนักแบบระบบเป่าอากาศ

    1.3 การกำจัดน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease Removal): วิธีการที่ง่าย สะดวก และได้รับความนิยมมากที่สุดในการกำจัดน้ำมันและไขมัน คือการสร้างบ่อดักไขมันขึ้นมา และใช้แรงงานคนในการเก็บกวาดและตักออกเป็นประจำทุกวัน

  2. ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี
    ระบบบำบัดน้ำเสียลำดับต่อมา คือระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี ระบบนี้สามารถรับมือกับน้ำเสียได้หลากหลายรูปแบบ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับสภาพน้ำเสียที่ต้องการบำบัด อย่างไรก็ตามการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบนี้ยังไม่ถือว่าสิ้นสุดกระบวนการ เนื่องจากยังมีสารอินทรีย์หลงเหลืออยู่ จึงควรส่งต่อไปบำบัดด้วยระบบชีวภาพ โดยบทความนี้ขอแนะนำ 3 วิธีที่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ ดังนี้

    2.1 การตกตะกอนโดยใช้สารเคมี (Coagulation): หากสังเกตจะเห็นได้ว่า ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่มักจะทำให้ทุกอย่างตกตะกอนแยกออกจากน้ำเสมอ วิธีการนี้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้สิ่งเจือปนในน้ำเสียตกตะกอนออกมาได้เช่นกัน แต่ไม่ใช่การใช้เครื่องมือแบบระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ แต่เป็นการเติมสารเคมีลงไปในน้ำเพื่อทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนจำพวกสารแขวนลอยที่มีประจุลบอย่างดินเหนียว สีจากโรงงานฟอกย้อม และโลหะหนักแทน ซึ่งสารเคมีที่ใช้จะต้องมีประจุบวกอย่างสารส้ม และเกลือเหล็ก ถ้าเลือกใช้ระบบนี้แนะนำให้ใช้เกลือเหล็ก เพราะมีราคาถูก และใช้ปริมาณน้อยกว่าสารส้ม แต่ให้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพไม่ต่างกัน

    2.2 การทำให้เป็นกลาง (Neutralization): การจะส่งต่อน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี ไปบำบัดด้วยกระบวนการทางชีวภาพ น้ำเสียจะต้องมีค่า Ph ที่เหมาะสมคือต้องอยู่ระหว่าง 6.5 – 8.5 หรือถ้าต้องการปล่อยออกสู่ธรรมชาติค่า Ph ต้องอยู่ในช่วง 4 -9 เพราะฉะนั้นหากน้ำเสียมีค่าความเป็นด่างมากเกินไป สามารถเติมโซดาไฟ (NaOH) ปูนขาว (CaO) หรือ แอมโมเนีย (NH3) เพื่อปรับสมดุลให้เป็นกลางได้ และถ้ามีความเป็นกรดมากเกินไปก็ให้เติมสารเคมีอย่างกรดกํามะถัน (H2SO4) กรดเกลือ (HCL) หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นต้น

    2.3 การทำลายเชื้อโรค (Disinfection): เชื้อโรคและแบคทีคืออีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ผ่านการบำบัดลงสู่ธรรมชาติได้ ซึ่งการจะกำจัดเชื้อโรคในน้ำเสียได้จะต้องใช้ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมีเป็นตัวจัดการ โดยการเติมคลอรีน สารประกอบคลอรีน หรือสารประกอบฟีนอลลงไปในน้ำเสีย

  3. ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
    มาถึงระบบบำบัดน้ำเสียระบบสุดท้ายที่จะแนะนำในบทความนี้ นั่นก็คือระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพที่จะเข้ามาช่วยบำบัดน้ำเสียต่อจากระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพกับทางเคมีที่ไม่สามารถกำจัดสารอินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในน้ำเสียออกไปอย่างครบถ้วนได้ โดยหัวใจหลักของระบบนี้คือการเลี้ยง“จุลินทรีย์” ในน้ำเสีย ให้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุมแบบคงที่ เพื่อให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ จากนั้นก็เปลี่ยนให้กลายเป็นตะกอนแล้วแยกตัวออกจากน้ำไป โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้

    3.1 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (Aerobic Wastewater Treatment): กระบวนการนี้จะต้องใช้ออกซิเจนอิสระ (Dissolved Oxygen) เป็นตัวละลายน้ำให้กับจุลินทรีย์ จากนั้นจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำแล้วเปลี่ยนให้เป็นฟล็อก (Biological Flocculation) แล้วตกตะกอนแยกออกจากน้ำไป ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการติดตั้งระบบบ่อเติมอากาศ ระบบแคติเวตเตดสลัดจ์ และระบบแผ่นหมุนชีวภาพ เป็นต้น

    3.2 ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Wastewater Treatment): กระบวนการนี้จะต้องทำให้น้ำอยู่ในสภาวะสุญญากาศ ซึ่งจุลินทรีย์ในกระบวนการนี้จะใช้สารประกอบอื่นเป็นตัวรับอิเล็กตรอนแทนออกซิเจน ผลลัพธ์ของกระบวนการนี้จะทำให้เกิดแบคทีเรียขึ้นมา 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สร้างกรดและกลุ่มที่สร้างมีเทน ซึ่งแบคทีเรียทั้งสองกลุ่มนี้จะอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ภายในน้ำเสีย โดยสิ่งสำคัญที่ต้องควบคุมให้ดีคือคือสภาวะแวดล้อมและค่า PH ให้เหมาะสมกับแบคทีเรียทั้งสองกลุ่ม ไม่อย่างนั้นแบคทีเรียทั้งสองกลุ่มจะไม่สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ โดยระบบนี้สามารถทำได้ด้วยการติดตั้งถังกรองไร้อากาศ ระบบถังหมักตะกอน และบ่อแอนแอโรบิก เป็นต้น

 

ข้อมูลทั้งหมดนี้คือตัวอย่างระบบบำบัดน้ำเสียในโรงงานที่คัดเลือกมาแล้วว่าสามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ เป็นการแนะนำข้อมูลอย่างคร่าวๆ ให้ผู้อ่านมองเห็นภาพว่า การเลือกใช้ระบบบำบัดน้ำเสียจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำอย่างเศษขยะ เชื้อโรค สารเคมี โลหะหนัก รวมไปถึงสารอินทรีย์ต่างๆ ที่ตามองไม่เห็นด้วย หากใครอ่านบทความนี้แล้วอยากทราบเหตุผลว่า ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมถึงจำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย ก็สามารถมาหาคำตอบได้อย่าง McEnergy ผู้นำให้บริการครบวงจร (Turnkey) ระบบปรับอากาศในอาคารประหยัดพลังงานในโรงงาน พร้อมให้บริการเริ่มตั้งแต่ การออกแบบ ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ ระบบชิลเลอร์ ในอาคาร สำนักงาน และโรงงานอุสาหกรรมด้วยจุดเด่น ทีมงานวิศวกรและฝ่ายบริการ ที่พร้อมคัดสรรชิ้นส่วนและอุปกรณ์คุณภาพดีจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงทั่วโลก มาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับอาคาร และสามารถช่วยประหยัดพลังงาน ด้วยเช่นกัน

บริษัท แม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น จำกัด

Head Office : Executive & Sales Office
32/1 ซอยรามอินทรา 58 แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
Tel : 02-509-3211 (24 Hours Service) Fax : 02-509-3212
E-mail : admin@mcenergy-evo.com