5 เทคนิคช่วยประหยัดพลังงานในโรงงาน

      งานอุตสาหกรรมเป็นการผลิตขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสง พลังงานไฟฟ้า พลังงานกล เป็นต้น ด้วยจำนวนการผลิตและภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างมากทำให้มีการใช้พลังงานที่มากขึ้นตามไปด้วย หลายที่จึงหันมาคำนึงถึงการประหยัดพลังงานในโรงงานเพื่อช่วยในการประหยัดต้นทุนการผลิตของบริษัทรวมถึงอีกด้านยังเป็นการคำนึงถึงการสร้างความยั่งยืนในการใช้พลังงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน รวมถึงมีการนำเอาระบบต่างๆ ที่ช่วยลดการใช้พลังงานมาใช้กับธุรกิจด้วย

      ในฐานะของผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการ การออกแบบอาคารประหยัดพลังงานหรือช่วยหาวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานตั้งแต่มีการออกแบบตั้งแต่แรกจึงเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้


วิธีช่วยประหยัดพลังงานในโรงงาน มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน วันนี้จะมาแนะนำ 5 เทคนิคที่ช่วยลดต้นทุนสำหรับผู้ประกอบการ

  1. ติดตั้งระบบคูลลิ่งทาวเวอร์
          คูลลิ่งทาวเวอร์ (Cooling Tower) หรือหอหล่อเย็น คือ อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน น้ำอุ่นที่กลับจา
    คอนเดนเซอร์ หรือคอยล์ร้อนจะถูกส่งขึ้นส่วนบนของ cooling tower เพื่อฉีดเป็นฝอยแล้วกลับลงในถัง โดยมีหลักการทำงานคือใช้วิธีการระเหยตัวของน้ำ ซึ่งทำให้มีการสูญเสียน้ำบางส่วน แต่บางส่วนที่เป็นปริมาณน้ำส่วนใหญ่จะมีอุณหภูมิต่ำลง สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ปกติจะนำคูลลิ่งทาวเวอร์ไปใช้ในการระบายความร้อนของน้ำในการหล่อเย็นกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม หรือโรงพยาบาล เป็นต้น ช่วยประหยัดพลังงานในโรงงานได้

    ประเภทของคูลลิ่งทาวเวอร์หากแบ่งตามลักษณะของอากาศที่หมุนเวียนผ่าน จะแบ่งได้ 2 แบบคือ
    • คูลลิ่งทาวเวอร์แบบให้อากาศหมุนเวียนธรรมชาติ (Natural Draft) หลักการนี้จะใช้น้ำร้อนจากคอนเดนเซอร์ ปั๊มส่งไปยังส่วนบนของคูลลิ่งทาวเวอร์เพื่อฉีดให้เป็นฝอย แล้วตกลงในถังตอนล่างของคูลลิ่งทาวเวอร์ จะอาศัยการเคลื่อนที่ของอากาศ คือเมื่อน้ำร้อนจากคอนเดนเซอร์ไหลมาที่คูลลิ่งทาวเวอร์ จะมีการสเปรย์น้ำร้อนออก เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ส่งผลให้ความหนาแน่นลดลง จากนั้นอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น อากาศโดยรอบที่เย็นกว่าจึงเข้ามาแทนที่จึงจะเห็นไอน้ำลอยออกจากคูลลิ่งทาวเวอร์นั่นเอง

    • คูลลิ่งทาวเวอร์แบบใช้พัดลมช่วยให้อากาศหมุนเวียน (Mechanical Draft) หลักการนี้จะใช้พัดลมช่วยให้อากาศหมุนเวียนในคูลลิ่ทาวเวอร์ สามารถแบ่งได้เป็นแบบ Induced draft คือให้ลมดูดผ่าน และแบบ Forced draft คือให้ลมเป่าผ่าน

    คูลลิ่งทาวเวอร์ หากแบ่งตามลักษณะการระบายความร้อน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

    1. ระบบเปิด จะเป็นการทำงานที่น้ำที่ระเหยตัวในการระบายความร้อน สัมผัสกับอากาศหรือลมจากภายนอกโดยตรง ทำให้มีโอกาสปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอดด้านนอกได้ จึงควรตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำ เปลี่ยนถ่ายน้ำ เป็นประจำ

    2. ระบบปิด ระบบนี้จะใช้วิธีให้ความร้อนของน้ำถ่ายเทผ่านผนังของระบบออกไปอากาศภายนอก โดยที่น้ำจะไม่ระเหยตัวและไม่ได้สัมผัสอากาศภายนอกโดยตรง ทำให้มีความสะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อน แต่จะมีการติดตั้งขนาดใหญ่และมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบระบบปิดด้วยนั่นเอง


  2. ออกแบบระบบปรับอากาศในโรงงานที่ดี
          ด้วยสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนจึงทำให้ส่งผลกับอาคารหรือโรงงานต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการต้องการอาคารประหยัดพลังงานมากขึ้น การติดตั้งระบบปรับอากาศ (HVAC System) จึงเป็นอีกวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานและสถานประกอบการอื่นๆ ที่ดี เพื่อช่วยสร้างความเย็นและควบคุมอุณหภูมิภายในอาคาร โรงพยาบาล โรงงานอุตสหากรรม เป็นต้น เป็นระบบที่ช่วยควบคุมและรักษามาตรฐานในการทำงานของระบบอุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ ภายในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกเหนือจากประโยชน์ของระบบปรับอากาศที่ช่วยให้ความเย็น ทำให้คุณภาพของอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่มีปัญหาแล้ว การคำนึงถึงผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ เนื่องจากการใช้งานระบบปรับอากาศในภาคอุสาหกรรมขนาดใหญ่ย่อมเกิดผลกระทบที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน


    ดังนั้น การออกแบบ ติดตั้งและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับระบบปรับอากาศและระบบประหยัดพลังงานจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญ ควรเลือกใช้บริษัทที่มีทีมงาน ทีมวิศวกรที่ชำนาญและพร้อมให้คำปรึกษาเพื่อออกแบบออกมาได้อย่างเหมาะสมกับอุตสาหกรรมของคุณและตรงตามความต้องการในการใช้งานของลูกค้าด้วย ซึ่งระบบปรับอากาศที่นิยมเพื่อประหยัดพลังงานในโรงงานได้แก่ ชิลเลอร์ และ คูลลิ่งทาวเวอร์


  3. มีระบบคูลชิลเลอร์
          คูลชิลเลอร์ หรือชิลเลอร์ ทำหน้าที่ในการช่วยระบายความร้อนให้กับน้ำเช่นกัน แต่จะมีวิธีการทำงานและหน้าที่แตกต่างกับคูลลิ่งทาวเวอร์ ชิลเลอร์ (Chiller) คือระบบทำความเย็นที่มีอยู่ในเครื่องจักรหลายๆ ชนิด คล้ายกับเป็นตู้เย็นขนาดใหญ่ให้กับโรงงานหรืออาคารต่างๆ ที่มีการวางระบบดังกล่าว เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือโรงพยาบาล ชิลเลอร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำที่ร้อนให้เย็นขึ้นโดยการปรับอุณหภูมิเพื่อส่งกลับไปทำความเย็นในระบบปรับอากาศที่ใช้กับแต่ละส่วนของอาคารได้ โดยหลักการทำงานนั้นจะทำให้น้ำร้อนเย็นลงโดยใช้เครื่องทำน้ำเย็นเพื่อระบายความร้อนด้วยน้ำเป็นหลัก เพราะสามารถระบายความร้อนได้ดีและเร็วกว่าระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ และมีสารทำความเย็น เช่น R22 หรือ R134A เป็นตัวเร่ง


    ประเภทของชิลเลอร์ หากแบ่งตามการระบายด้วยคอยล์ร้อน แบ่งได้เป็น 3 แบบคือ

    1. Water cooled chiller คือชนิดที่ใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อนหลัก สามารถระบายความร้อนได้ดีจึงเหมาะกับวางในระบบใหญ่ที่ต้องการความเย็นมาก แต่ต้องใช้ควบคู่กับอุปกรณ์อื่น อย่าง หอทำความเย็น หรือ condenser water pump รวมถึงหมั่นดูแลความสะอาดในระบบน้ำเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและคราบอุดตัน

    2. Air cooled chiller คือชนิดที่ระบายความร้อนด้วยอากาศเหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่จำกัด

    3. Apsorption chiller ใช้วิธีดูดซึมไอเสียของน้ำที่เป็นความร้อนเหลือทิ้ง มาเป็นพลังงานให้เครื่องทำความเย็น เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ช่วยประหยัดพลังงานในโรงงานได้ดีมาก


  4. ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
          แผงโซลาร์เซลล์หรือระบบโซลาร์เซลล์เป็นวิธีประหยัดพลังงานในโรงงานยอดนิยมที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานไฟฟ้าได้มาก โดยนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์ในชีวิตประจำวันมาแปลงเป็นพลังงานใช้ทดแทนไฟฟ้าได้ โดยถือเป็นพลังงานที่สะอาด มีศักยภาพสูง และไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม โดยสามารถนำเอาพลังงานมาใช้ได้ทันทีหรือจะเก็บสะสมไว้ใช้ภายหลังในรูปแบบแบตเตอรี่ได้เช่นกัน ซึ่งในการใช้ไฟฟ้าสำหรับขั้นตอนต่างๆ ในโรงงานจะใช้ในปริมาณที่มากและอาจก่อให้เกิดมลภาวะ แต่โซลาร์เซลล์เป็พลังงานจากธรรมชาติ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษรวมถึงทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าในโรงงานได้


    การวางระบบโซลาร์เซลล์สำหรับประหยัดพลังงานจึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าลงทุนในระยะยาวและมีให้เลือกหลากหลายราคา และไม่ใช่แค่เหมาะสำหรับในอุตสหกรรมใหญ่ๆ เท่านั้น โรงงานขนาดเล็ก หรือภาคอุตสาหรกรรมอื่นๆ รวมถึงอาคารบ้านเรือนก็สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อสร้างพลังงานสะอาดได้


  5. ออกแบบระบบประหยัดพลังงาน
          เพิ่มประสิทธิภาพแบบองค์รวมให้อุตสาหกรรมด้วยการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยการจัดการพลังงานด้วย AI อย่างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ในการวางระบบเพื่อลงทุนระยะยาว เช่น ช่วยให้ chiller plant ประหยัดพลังงานได้สูง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยระบบดังกล่าวจะมีการทำงานโดยหลังจากที่ได้วางระบบ จะนำส่งข้อมูลโครงการผ่าน internet ไปยัง cloud ของ BBP เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์การทำงานต่างๆ จากนั้นระบบวิเคราะห์ข้อมูล AI จะทำงานร่วมกับการจัดการของ BPP ที่เป็นสิทธิ์บัตรเฉพาะเท่านั้น และทางบริษัทจะให้คำแนะนำต่างๆ กับลูกค้าผ่านทาง cloud และมีข้อดีคือลูกค้าหรือผู้ประกอบการเองจะสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ตลอดเวลา โดยไม่จำกัดผู้ใช้งาน


ซึ่งบริษัทแม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น จำกัด ไม่ใช่เป็นเพียงบริษัทผู้ให้บริการเท่านั้น แต่ยังลงทุนให้ฟรีเพื่อออกแบบระบบประหยัดพลังงานในโรงงานด้วย AI และแชร์ผลร่วมกันแบบคู่ค้าที่หาช่องทางที่ได้ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย วางใจเรื่องให้บริการ ออกแบบ และติดตั้งระบบปรับอากาศแบบครบวงจร เชื่อมั่นได้ด้วยชิ้นส่วนและอุปกรณ์คุณภาพดีคุณภาพระดับโลกและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงงานหรือแม้แต่อุตสาหกรรมแต่ละประเภท โดยคำนึงถึงความต้องการและความใช้งานของลูกค้าเป็นหลักพร้อมทีมงานที่เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพพร้อมให้คำแนะนำและมีความรู้เฉพาะด้านและพร้อมบริการเพื่อให้ได้งานคุณภาพที่ดีที่สุด

บริษัท แม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น จำกัด

Head Office : Executive & Sales Office
32/1 ซอยรามอินทรา 58 แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
Tel : 02-509-3211 (24 Hours Service) Fax : 02-509-3212
E-mail : admin@mcenergy-evo.com