เหตุผลที่อาคารและโรงงานอุสาหกรรมควรมีระบบบำบัดน้ำเสีย

เหตุผลที่อาคารและโรงงานอุสาหกรรมควรมีระบบบำบัดน้ำเสีย

ทำไมต้องอาคารและโรงงานอุสาหกรรมต้องติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย

       ทำไมเราต้อง “บำบัดน้ำเสีย” ก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ …ปัญหาการเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เราใช้ในการสัญจรและใช้เพื่อดื่มกิน เช่น แม่น้ำลำคลอง หนองบึง รวมไปถึงอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำไว้ใช้ทางการเกษตรและดื่มกินในช่วงฤดูแล้ง ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดคำถามว่า ปัญหาของเกิดน้ำเน่าเสีย และเกิดมลพิษในแหล่งน้ำนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้งที่ในอดีตนั้นปัญหาเหล่านี้ไม่เกิดเคยเกิดขึ้นมากก่อน


       แต่จริง ๆ แล้วปัญหาเหล่านี้ค่อยๆ เกิดขึ้นและสะสมมาอย่างยาวนาน แต่เริ่มแสดงผลเร็วขึ้นในช่วงที่เกิดชุมชนเมืองและมีการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น ซึ่งทำให้เกิดการทิ้งน้ำเสียและสิ่งปฏิกูลลงสู่แหล่งน้ำจำนวนมาก ๆ รวมถึงพฤติกรรมการใช้น้ำ และทิ้งน้ำเสียลงในแหล่งน้ำโดยไม่ผ่านการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำในธรรมชาติ โดยเฉพาะการปล่อยน้ำเสีย และสิ่งปฏิกูลจากอาคารสูงที่มีการอยู่อาศัยของคนจำนวนมาก และการทิ้งหรือระบายน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีสารพิษปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ


       ปัญหาการทิ้งน้ำสีย และปล่อยสิ่งปฏิกูล รวมถึงการปล่อยสารพิษลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เริ่มส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำกินน้ำใช้รุนแรงมากขึ้น ทำให้หน่วยงานรัฐต้องเข้ามากำกับดูแลพร้อมออกมาตรการควบคุม โดยการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง หรือ หลักการควบคุมและสั่งการ (Command and Control) กล่าวคือ ให้มีการควบคุมการระบายน้ำทิ้ง รวมทั้งควบคุมแหล่งกำเนิดมลพิษบาง ประเภท ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของปัญหามลพิษทางน้ำ โดยการประกาศมาตรฐานดังกล่าว คือการสั่งการให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิด มลพิษ ที่เข้าข้อปฏิบัติ มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดให้มีระบบหรือ อุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย และจะต้องทำการบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐานก่อนระบายน้ำทิ้ง ลงสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือระบบชลประทาน


สำหรับมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง มีอยู่ 3 แบบ ดังนี้

  1. มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร เพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ
  2. มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุดสาหกรรม เพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุดสาหกรรม
  3. มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร เพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร

ทั้ง 3 แบบนี้ คือ มาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้เป็นมาตรฐานในการป้องกันและแก้ไขปัญหามดพิษทางน้ำ โดยการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ


   

        ทั้งนี้ หากโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านอาหาร ฯลฯ ที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามมาตรฐานดังกล่าวไม่ดำเนินตาม จะมีบทลงโทษของผู้กระทำความผิดตาม มาตรา 104 เจ้าของหรือครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและมาตรา 106 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียผู้ใดไม่จัดเก็บสถิติ ข้อมูล หรือไม่ทำบันทึกหรือรายงานตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน1เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือ มาตรา 107 ผู้ควบคุมหรือผู้รับจ้างให้บริการผู้ใดทำบันทึกหรือรายงานใดที่ตนมีหน้าที่ต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน1ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


       เมื่ออาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบการใด มีขนาดพื้นที่และค่ามลมพิษปนเปื้อนในน้ำเกินกว่ามาตรฐานจะต้องดำเนินการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำให้มีค่าอยู่ในระดับมาตรฐานตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด สำหรับ ระบบบำบัดน้ำเสีย คือ การกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันของประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนหรือแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ให้หมดไป หรือมีปริมาณสิ่งปนเปื้อนในน้ำลดลงจนมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ อาทิ โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม อาคารที่พักอาศัย และพื้นที่เกษตรกรรม จะมีปริมาณสารเคมีหรือสารละลายเข้มข้นผสมอยู่ในปริมาณ ที่แตกต่างกัน

 

โดยปกติแล้วในอาคารขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรม จะมีน้ำเสียที่ 2 แบบ คือ

  1. น้ำเสียที่เป็นน้ำทิ้งจากห้องน้ำ ซึ่งปริมาณของน้ำเสียประเภทนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงานในโรงงาน หรือ หากเป็นอาคารสูงก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้อยู่อาศัย
  2. น้ำเสียที่จากกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งหากในโรงงานอุตสาหกรรมทำการปล่อยน้ำเสียโดยไม่ผ่านการบำบัดนำเสีย จะส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำและผู้อยู่อาศัยในพื้นที่รอบแหล่งน้ำ หรือผู้ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำอย่างมาก ดังนั้น ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการเกิดมลพิษในแหล่งน้ำธรรมชาติ


       สำหรับระบบบำบัดน้ำเสียอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลพิษที่ปนเปื้อนมากับน้ำผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว เช่น น้ำจากการชำระล้างต่าง ๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงาน น้ำที่ผ่านการผสมสารเคมี รวมถึง น้ำที่ถูกใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำจากห้องน้ำ ฯลฯ ทั้งนี้ ประเภทของน้ำเสียจะมีความต่างกันออกไปตามขบวนการใช้น้ำของบุคคลที่อาศัยในอาคาร ทำให้สารมลพิษที่ปนเปื้อนมีความสารปนเปื้อนที่แตกต่างและปริมาณที่แตกต่างไป ทั้งนี้ โดยปกติแล้วการน้ำเสียแยกออกเป็น 2 ประเภทตามการปนเปื้อน คือ 1.น้ำเสียที่เป็นอินทรีย์สาร ซึ่งโดยมากเป็นน้ำเสียจาก อาคาร บ้านเรือน ตลาด ร้านอาหาร ฯ 2.น้ำเสียที่เป็นอนินทรีย์สาร ซึ่งเป็นน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม


       ทั้งนี้ ในปัจจุบันโงงานอุตสาหกรรมให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการลดต้นทุนการผลิต ดังนั้น ระบบบำบัดน้ำเสียที่ถูกติดตั้งในโรงงานส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับเรื่องการประหยัดพลังงานในโรงงานเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สารมลพิษ หรือสิ่งปนเปื้อนที่ต้องการบำบัดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทหรือชนิดของน้ำเสียและแหล่งน้ำทิ้ง ดังนั้นเพื่อให้น้ำเสียที่ผ่านขบวนการบำบัดมีคุณภาพตามข้อกำหนดทางกฎหมาย เครื่องจักรอุปกรณ์ที่โรงงานอุตสาหกรรมจัดหามาระบบมาติดตั้งนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกระบบที่ต้องเหมาะสมกับการบำบัดน้ำเสียที่แต่ละโรงงานปล่อยออกมา โดยระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีหลากหลายระบบ ประกอบด้วย

  1. ระบบบำบัดทางกายภาพ (ระบบการกรอง การตกตะกอน ถังดักไขมัน) เป็นระบบบำบัดนำเสียที่ประหยัดพลังงานในโรงงานได้มาก
  2. ระบบบำบัดทางเคมี (การเพิ่ม-ลดประจุไฟฟ้าของอิเลคตรอน)
  3. ระบบบำบัดชีวภาพ (แบบใช้ออกซิเจน และไม่ใช้ออกซิเจน)
  4. ระบบการทำให้ระเหยด้วยความร้อน คือระบบบำบัดน้ำเสียที่ประหยัดพลังงานในโรงงานได้ดีอีกระบบหนึ่ง
  5. ระบบบำบัดด้วยไฟฟ้า


       สำหรับ อาคารประเภทที่ถูกจัดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งเข้าข้อกำหนดการมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง หรือควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือ ออกสู่สิ่งแวดล้อม คือ อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ที่มีขนาดห้องนอนตั้งแต่ 500 ห้องนอนขึ้นไป โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม มีขนาดตั้งแต่ 200ห้องนอนขึ้นไป โรงพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลตามกฎหมาย ตั้งแต่ 30 เตียงขึ้นไป อาคารโรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนของทางราชการ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาของทางราชการ ที่มีขนาดตั้งแต่ 25,000 ตารางเมตร อาคารที่ทำการของทางราชการและรัฐวิสาหกิจ องค์กรระหว่างใประเทศ หรือ เอกชน ที่มีขนาดตั้งแต่ 55,000 ตารางเมตรขึ้นไป และ อาคารของศูนย์ราชการ หรือห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดจั้งแต่ 25,000 ตารางเมตรขึ้นไป และ ตลาด ขนาดพื้นที่ 2,500 ตารางเมตรหรือมากกว่าขึ้นไป ภัตราคาร และร้านอาหาร ที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,500 ตารางเมตรหรือมากกว่าขึ้นไป


อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอาคารโรงพยาบาลที่มีขนาดมากกว่า 30 เตียงนั้น ถือว่าเป็นอาคารชนิดพิเศษ ที่นิยมติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) ซึ่งเป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา ซึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมเพราะเป็นระบบที่ช่วยประหยัดพลังงานในโรงงาน แต่การเดินระบบประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เพราะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด

บริษัท แม็คเอนเนอยี อีโวลูชั่น จำกัด
Tel: 02-509-3211
Email : admin@mcenergy-evo.com